กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะต้องรู้จักกำหนดภาพลักษณ์ของตนเองเข้าใจบทบาทและวางท่าที ที่เหมาะสมต่อสถานการณ์
 
     
 
การบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน
แนวทางเบื้องต้นในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงต้องเริ่มจากการลดกิจกรรมของมนุษยที่จะก่อใหเกิดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก
 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษยที่ปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสูชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกประเทศในโลก

ดังนั้น แนวทางเบื้องต้นในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงต้องเริ่มจากการลดกิจกรรมของมนุษยที่จะก่อใหเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทุกประเทศในโลกไดตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงได้ร่วมมือกันหาแนวทางมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

ในปีค.ศ. 2007 IPCC ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหานี้ ได้สรุปแนวทางในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้

1) ด้านพลังงาน ให้มีการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ หรือพลังงานนิวเคลียร ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล มาตรการในการดำเนินการอาจใช้วิธีการลดภาษี หรือให้เงินสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2) ด้านการคมนาคมขนส่ง
ให้มีการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนระบบการคมนาคมจากถนนเป็นระบบราง ส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน เช่น จักรยาน ส่งเสริมการใช้พลังงานชีวมวล มาตรการในการดำเนินการอาจใช้วิธีการเก็บภาษียานยนต์ให้สูง เพื่อให้มีการใช้ยานพาหนะให้น้อยลง หรือจำกัดระยะทางในการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

3) ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มีการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้วัสดุหมุนเวียน มาตรการในการดำเนินการอาจใช้มาตรการทางภาษี หรือ การให้เงินชดเชย นอกจากนั้นยังอาจใช้มาตรการในการควบคุมมาตรฐานอุตสาหกรรมและการออกใบอนุญาต

4) ด้านเกษตรกรรม
ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงสายพันธุ้เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ เพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในดินโดยลดการรบกวนดิน ปรับปรุงเทคนิคในการจัดการปศุสัตวและมูลสัตว์เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้ปุ๋ยเพื่อลดการ ปล่อยกีาซมีเทน ส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานเพื่อใช้ทดแทนน้ำมัน ซึ่งมาตรการในการดำเนินการที่มี ประสิทธิภาพจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจด้านการเงิน

5) ด้านป่าไม
 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาทำลายป่า  ส่งเสริมให้มีการปลูกป่า ทั้งในพื้นที่ที่ไมเคยเป็นป่ามาก่อน (afforestation) และพื้นที่ที่เคยเป็นป่ามาก่อน (reforestation) เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้มีผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนต่อพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการใชพลังงานชีวมวลทดแทน การใช้น้ำมัน และพัฒนาเทคนิคการสำรวจระยะไกลเพื่อติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม มาตรการในการดำเนินการจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจด้านการเงินทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อลดการทำลายป่าและเพื่อปลูกป่าเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังควรมีนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับป่าไมที่ชัดเจน และมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

6) ด้านการกำจัดของเสีย
พัฒนาเทคโนโลยีในการกำจัดของเสีย การฝังกลบ เพิ่มประสิทธิภาพของเตาเผาขยะเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้วัสดุหมุนเวียนเพื่อลดปริมาณขยะ มาตรการในการดำเนินการต้องมีการสร้างแรงจูงใจด้านการเงินในการกำจัดของเสีย ออกกฎหมายและมาตรการในการจัดการของเสีย และการบังคับใช้วัสดุหมุนเวียน


Last updated: 2011-01-27 12:01:18


@ การบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ การบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,561

Your IP-Address: 44.210.240.31/ Users: 
1,560