หมั่นใช้เวลาในการทบทวนตนเองว่าทำอะไรถูก ทำอะไรผิดไปบ้าง
 
     
 
แก้ง
ด้วยอิทธิพลการไหลของน้ำมูน ทำให้ผืนหินใต้ท้องลำน้ำมูนตอนปลาย เต็มไปด้วย หลุมและโพรงเป็นที่อาศัยของฝูงปลาหลากหลายชนิด
 

ช่วงปลายของแม่น้ำมูน ที่จะไหลออกไปรวมกับแม่น้ำโขงบริเวณอำเภอโขงเจียม ตั้งแต่อำเภอพิบูลมังสาหาร ไปจรดบริเวณที่เรียกว่าปากน้ำมูน ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาตอนปลายบนเทือกเขาภูพาน ในช่วงนี้กระแสน้ำในแม่น้ำมูน จะกัดเซาะแนวเขาบริเวณนี้ จนเกิดเป็นร่องสายน้ำ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศดั้งเดิมเป็นภูเขาหินทราย ไม่ได้เป็นที่ราบอันเกิดจากการตกตะกอนของดิน และทรายที่ไหลมาจากพื้นที่ต้นน้ำด้านบน เหมือนที่ราบตอนกลางของแม่น้ำมูน หินบริเวณนี้มีความแข็งไม่เท่ากัน หินที่แข็งน้อยกว่าจะถูกน้ำกัดเซาะจนเป็นร่องน้ำ แต่หินที่แข็งกว่าจะยังคงสภาพเป็นคันหินกั้นแม่น้ำมูนอยู่ ทำให้เกิด แก่ง หรือ แก้งหิน ขวางลำน้ำมูนตอนปลายหลายแก้ง ตั้งแต่แก่งสะพือ แก่งไก่เขี่ย แก่งตาดไฮ แก่งคันไร่ แก่งคันลึม แก่งคันเหวจนถึงแก่งตะนะ บริเวณด้านหน้าของอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ แก่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อคนและปลาในลำน้ำมูนตอนปลาย เพราะเป็นเขื่อนธรรมชาติที่ช่วยกักน้ำในแม่น้ำมูน ให้ไหลลงแม่น้ำโขงช้าลง ถ้าไม่มีแก้งเหล่านี้ ในช่วงฤดูแล้ง เราคงจะไม่เห็นน้ำเต็มลำน้ำมูน ให้ชาวบ้านได้เล่นน้ำ อาบน้ำในยามสงกรานต์

                ด้วยอิทธิพลการไหลของน้ำมูน ทำให้ผืนหินใต้ท้องลำน้ำมูนตอนปลาย เต็มไปด้วย หลุมและโพรงเป็นที่อาศัยของฝูงปลาหลากหลายชนิด ได้อาศัยหลบภัยในช่วงฤดูแล้ง

                แก้ง เป็นภาษาอีสาน หมายถึง แก่ง ในภาษาของภาคกลาง

 

 

 


Last updated: 2013-05-09 22:51:42


@ แก้ง
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ แก้ง
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
934

Your IP-Address: 18.232.188.122/ Users: 
933