จงยินดีที่เป็นผู้ให้ มากกว่าจะเป็นผู้รับ
 
     
 
จิบ
ปลายฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านจะใช้จิบในช่วงต้นฤดูหนาว ที่ไม่มีฝนตกขณะน้ำกำลังลด เหลือน้ำอยู่เฉพาะในลำน้ำเท่านั้น
 

จิบ  เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งของคนอีสาน ที่อาศัยอยู่ติดกับแม่น้ำ ด้วยการสร้างฝายกั้นลำน้ำขนาดเล็กด้วยท่อนไม้ เปิดตอนกลางให้เป็นพื้นที่ว่าง เพื่อบังคับให้ปลาที่ว่ายมาตามสายน้ำ ว่ายผ่านบริเวณตอนกลางได้เพียงแห่งเดียว ชาวอีสานเรียกฝายไม้ที่กั้นลำน้ำว่า เผือก หรือ เฝือก ในภาษากลาง และนำเอาโต่ง หรือ ถุงตาข่าย กว้าง 5 – 10 เมตร ตามขนาดของพื้นที่ว่างที่เหลือไว้ ยาว 20-30 เมตร ตอนปลายถุงตาข่ายทำเป็นลอบ สานด้วยไม้ไผ่ สามารถเปิดท้ายลอบออกได้ เพื่อนำปลาที่เข้าไปในจิบออกมา ภาคกลาง เรียก โต่งว่า โพงพาง ในแม่น้ำสายใหญ่ไม่สามารถทำฝายกั้นได้ ก็จะใช้เพียง โต่ง มีทุ่นลอย ผูกเชือกขนาดใหญ่ทั้งสองข้าง มัดโยงกับต้นไม้สองข้างฝั่ง กั้นดักปลาที่ไหลตามน้ำมา ในช่วงปลายฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านจะใช้จิบในช่วงต้นฤดูหนาว ที่ไม่มีฝนตกขณะน้ำกำลังลด  เหลือน้ำอยู่เฉพาะในลำน้ำเท่านั้น ในช่วงฤดูน้ำหลากไม่สามารถใช้จิบจับปลาได้ เนื่องจากน้ำจะไหลเอ่อท่วมพื้นที่ราบสองฝั่ง ไม่สามารถบังคับปลาให้ว่ายเข้าจิบ  ตามที่ต้องการได้ ชาวบ้านจะมีเวลาใช้
จิบจับปลาได้ประมาณ 15วัน ก่อนที่ปลาจะว่ายลงสู่แม่น้ำสายหลักหมด

จิบ  เป็นเครื่องมือจับปลา ที่ทำลายล้างพันธุ์ปลาประเภทหนึ่ง ในชุมชนที่เข้มแข็งจะมีการควบคุมการใช้จิบ ไม่ให้ใช้จับปลาที่ว่ายไปวางไข่ ช่วงต้นฤดูฝน กรมประมงไม่อนุญาตให้ใช้จิบจับปลาทุกประเภทในลำน้ำ


Last updated: 2013-05-02 23:55:20


@ จิบ
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ จิบ
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,986

Your IP-Address: 18.97.14.86/ Users: 
1,985