การทำงานเป็นทีมได้ดี ต้องไม่กังวลว่าคนอื่นทำน้อยกว่าเรา
 
     
 
แนวเชื่อมต่อคืออะไร?
ทางเชื่อมต่อหมายถึง พื้นที่ขนาดเล็กโดยมากมักมีรูปร่างเป็นแถบยาวช่วยทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของชนิดเฉพาะนั้น ๆ ที่ต้องการเคลื่อนที่ระหว่างหย่อมป่ าที่แตกต่างกันได้
 

แม้ว่าคำว่า “ทางเชื่อมต่อหรือแนวเชื่อมต่อ (corridor)” จะมีการใช้กันอย่างมากในหลากหลายสาขาวิชา แต่นักวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติโดยส่วนใหญ่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ทางเชื่อม” ที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น

Corridor: “narrow strips of land which differ from the matrix on either side or maybe
isolated strips, but are usually attached to a patch of somewhat similar vegetation”
(Forman &Gordon, 1986)


Corridor: “a linear landscape element that provides for movement between habitat
patches, but not necessarily reproduction. Thus, not all life history requirements of a species may be met in a corridor”
(Rosenberg et al., 1997).


Corridor: “a swath of land that is best expected to serve movement needs of an individual species after the remaining matrix has been converted to other uses”
(Beier et al., 2005).

 

จากคำจำกัดความดังกล่าว ในบทความนี้จึงขอให้คำจำกัดความของคำว่าแนวเชื่อมต่อไว้ว่า
“ทางเชื่อมต่อหมายถึง พื้นที่ขนาดเล็กโดยมากมักมีรูปร่างเป็นแถบยาวช่วยทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของชนิดเฉพาะนั้น ๆ ที่ต้องการเคลื่อนที่ระหว่างหย่อมป่าที่แตกต่างกันได้ โดยแนวเชื่อมต่อมักมีพืชพรรณใกล้เคียงกับถิ่นที่อาศัยหลักที่อยู่ใกล้เคียง” เห็นได้ว่าคำจำกัดความดังกล่าวนี้ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความสามารถในการเคลื่อนที่ของชนิดจากหย่อมถิ่นที่อาศัยแห่งหนึ่งผ่านแนวเชื่อมต่อไปยังหย่อมถิ่นที่อาศัยที่อยู่ไกลออกไป โดยแนวเชื่อมต่อนี้อาจเป็นที่ต้องการของชนิดเฉพาะในบางช่วงเวลาหนึ่งหรือทุกช่วงเวลาของวงจรชีวิต ขณะที่ความหมายของคำว่า “ถิ่นที่อาศัย (habitat) หมายถึงบริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งในแง่ของการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต เช่น แหล่งอาหาร แหล่งหลบภัย แหล่งน้ำ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ชนิดพันธุ์สามรถรอดจากการตายและสืบพันธุ์ออกลูกหลานต่อไปได้”


จากคำจำกัดความทั้งหมดดังกล่าว พบว่าแนวเชื่อมต่อมีแง่มุมที่สำคัญสองประการ ได้แก่

 

  1. มุมมองทางด้านโครงสร้าง (structural perspective) เป็นการพิจารณาแนวเชื่อมต่อโดยเน้นไปที่ลักษณะหรือ รูปลักษณ์ภายนอกที่ทำการเชื่อมต่อ เช่น ความยาว ความแคบ ความกว้างหรือความโค้ง ของทางเชื่อมต่อ หรืออีกนัยหนึ่งคือการพิจารณาถึงการมีการเชื่อมต่อทางด้านโครงสร้างเท่านั้น (structural connectedness)

  2. มุมมองทางด้านหน้าที่ (functional perspective) เป็นการพิจารณาทางเชื่อมต่อในฐานะของความสามารถที่ทำให้มีการเชื่อมต่อกันได้ (connectivity) โดยความสามารถในการเชื่อมต่อนั้นเป็นสิ่งที่บอกได้ว่าพืชหรือสัตว์สามารถเคลื่อนย้ายผ่านระหว่างหย่อมป่ าหรือหมู่เกาะไปได้ด้วยความยากง่ายเพียงใด (Hess &Fischer 2001) ดังนั้นเพื่อให้การออกแบบทางเชื่อมต่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักวิจัยและนักจัดการ พื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการเคลื่อนที่ของชนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ ที่จะผ่านไปตามทางเชื่อมต่อที่ได้ออกแบบไว้ สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันย่อมมีความสามารถในการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกแบบทางเชื่อมต่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของชนิดนั้น ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง Bennett (2003) ยังได้ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้เกิดความสมารถในการเชื่อมต่อกันทางด้านหน้าที่ (functional connectivity) มากกว่าที่จะมุ่งเน้นการเชื่อมต่อเฉพาะทางด้านกายภาพเท่านั้น (physical connectivity) และยังให้ร่วมพิจารณาถึงคุณภาพและสภาพแวดล้อมของแนวเชื่อมต่อที่ชนิดนั้น ๆ จะสามารถผ่านไปได้หรือไม่

 

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าการเข้าใจถึงองค์ประกอบทางด้านพฤติกรรม(นิเวศวิทยา) อย่างแท้จริงของแต่ละชนิดที่เป็นเป้าหมายในการอนุรักษ์ นั้นเป็นสิ่งสำคัญอันแรกสุดที่จะรับประกันถึงความสำเร็จของการใช้แนวเชื่อมต่อระหว่างผืนป่าเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ


Last updated: 2013-02-10 20:26:39


@ แนวเชื่อมต่อคืออะไร?
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ แนวเชื่อมต่อคืออะไร?
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,245

Your IP-Address: 18.209.209.246/ Users: 
1,243