[778]
ตะเคียนสามพอน ( Shorea laevis)
DIPTEROCARPACEAE
ตะเคียนสามพอน(ระนอง)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆ ในป่าดงดิบทางภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๔๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงเจดีย์ต่ำ ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูต่ำๆ เปลือกสีเทาคล้ำ หรอืน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้น และแตกเป็นสะเก็ดอ้าออกจากด้านล่าง มีรูระบายอากาศทั่วไป จะเห็นชัดตามกิ่ง บางทีจะตกชัน เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อน ใบเป้นชนิดใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหอก เรียงสลับกัน ดอกสีนวลๆ ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลรูปกรวย มีปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลปนเหลือง ทิ้งไว้นานจะกลายเป็นสีน้ำตาลแกมแดง เสี้ยนสน เป็นริ้วกว้างๆ เนื้อละเอียด หรือค่อนข้างละเอียด ตบแต่งยาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๖๒
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๒๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๕๐ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๑๔,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๓ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๕-๑๑.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๔.๙ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ และการก่อสร้างภายในร่ม ทำเรือ เสากระโดงเรือ หางเสือเรือ แลมักนิยมใช้ทำรางและกระดานพื้นเหมืองแร่ กับใช้ทำสะพานขนดินขึ้นจากขุมเหมือง เนื่องจากไม่ลื่น อาบน้ำยาแล้วใช้ทำหมอนรองรางรถไฟได้ดี