![]()
[2840]
กระเบาใหญ่ ( Hydnocarpus anthelminthicus) FLACOURTIACEAE กระเบาใหญ่,กาหลง,กระเบาน้ำ,กระเบาเบ้าแข็ง(ภาคกลาง), กระเบา(ทั่วไป),กระเบาตึก(เขมร ตะวันออก),ตัวโฮ่งจี๊(จีน), เบา(สุราษฎร์ธานี) |
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายเป็นหมู่ๆตามริมลำห้วย และแม่น้ำลำคลอง หรือที่ลุ่ม ในป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๕๐-๒๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลา ตรง ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาดกว้าง ๔-๖ ซม. ยาว ๑๕-๒๐ ซม. เนื้อหนา เกลี้ยง โคนมนเบี้ยว ปลายสอบ เรียวแหลม ขอบเรียบ ใบแห้งสีน้ำตาลแดง ดอกเพศผู้สีชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ผลกลม สีขาวใหญ่มาก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘-๑๐ ซม. ผิวเรียบ มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาลแดง ลักษณะคล้ายผลมะขวิด |
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อตัดใหม่ๆสีแดงแกมน้ำตาล นานเข้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดและสม่ำเสมอ แข็ง เลื่อย ผ่าง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๔ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ค่อนข้างยาก (ชั้นที่ ๓) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้นบ้าง แต่ส่วนมากใช้ทำฟืน
เมล็ด ให้น้ำมัน ใช้ทำยารักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอย่างอื่น และยาถ่ายพยาธิ ผสมทำน้ำมันใส่ผม รักษาผิวหนังศีรษะได้ดี
ผล เนื้อในผลสุกใช้รับประทานเป็นของหวาน
|