|
|
|
|
|
[868] น่อง ( Antiaria toxicaria) MORACEAE น่อง, ยางน่อง(กลาง); ก๊อง(เงี้ยว-เชียงใหม่); จ้อยนาง, ยอน, ยาค่าง, ยางค่าง, ย่าน่อง, หมากลิ้นอาง(เชียงใหม่); จิว(กะเหรี่ยง-ตาก); ชะแวะ, ยางน่องขาว(นครราชสีมา); โต๊ะเหล่(กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน); ทรายเขา(ก
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้น และตาป่าดงดิบทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อาจสูงถึง ๕๐-๖๐ เมตร ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว ลำต้นเปลา ตรง โคนมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นรูปกรวย ตามกิ่งอ่อนมีขน เปลือกนอกเรียบ หรือค่อนข้างเรียบ สีขาวหรือเทาอมขาว เปลือกชั้นในสีขาว หรือขาวอมเหลือง ถากดูจะมีน้ำยางสีขาวอมเหลือง ซึมออกมาตามรอยถาก ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๑๐-๒๐ ซม. ก้านใบสั้นมาก ขอบใบอ่อนจะมีปลายเส้นใบยื่นออกไป ดูคล้ายขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีเส้นขอบใน ส่วนขอบใบแก่ค่อนข้างเรียบ ท้องใบอ่อนมีขนมาก หลังใบเกลี้ยง หรือเกือบเกลี้ยง ดอกสีเหลือง มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นกระจุกกลมแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ ซม. ก้านมีขน ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ผลกลม สีแดง ม่วง หรือเหลืองอมเขียว มีขน รสขม ที่ปลายมีใบประดับ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาว เสี้ยนตรง อ่อน |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๘ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหีบใส่ของ รองเท้าไม้ เครื่องเล่น
เมล็ด ใช้รักษาไข้ บิด
ยาง หมอโบราณทางภาคเหนือกล่าวว่า ยางที่ได้จากต้นเป็นพิษ ใช้ชุบปลายลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ใหญ่ได้ แต่ก่อนจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียว อันเกิดจากพิษยางน่องออกจนหมดเสียก่อน จึงจะรับประทานได้
เปลือก ให้ใยละเอียดสีขาว ใช้ทำเชือกได้ และใช้เป็นเยื่อกระดาษได้อย่างดี ทุบทำเป็นที่นอน ผ้าห่ม เสื้อกางเกงของพวกขาวป่า เช่น แม้ว มูเซอ และเงาะ เป็นต้น
|
|
|