[683] ยมหิน ( Chukrasia velutina) MELIACEAE โค้โย้ง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) ช้ากะเดา (ใต้) ฝักดาบ (จันทบุรี) มะเฟืองช้าง สะดาช้าง สะเดาหิน (ภาคกลาง) ยมขาว (ภาคเหนือ) เสียดกา (กบินทร์บุรี ปนาจีนบุรี) วาราโย่ง (เขมรกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ริ้วบ้าง รี (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เสียดค่าง (สุราษฎร์ธานี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง และชื้นทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสูงชะลูด ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่ม รูปกรวยต่ำๆ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทา หรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้น และมีรูระบายอากาศทั่วไป ใบเป็นช่อ ใบย่อยออกเรียงสลับกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง ดอกเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลเล็ก กลม รีๆ แข็ง สีน้ำตาลอมม่วง |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลอมเหลือง เป็นมันเลื่อม เสี้ยนสน เนื้อละเอียด พอประมาณ มีริ้วสีแก่เกลี้ยง แข็งพอประมาณ เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๐ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๐๔๔ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๑๑ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๙๙,๖๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๗ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา ขื่อ รอด ตง กระดาน ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือต่างๆ และไม้อัด ลักษณะคล้ายไม้สีเสียดเปลือก แต่มีสีผิดกันบ้าง ควรใช้แทนกันได้ |