[5074] ตะบูนดำ ( Xylocarpus moluccensis) MELIACEAE ตะบูนดำ(ทั่วไป),ตะบัน(ภาคกลาง,ภาคใต้)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนริมทะเล หรือที่น้ำทะเลขึ้นถึง และตามป่าพรุทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดมักแผ่กว้าง รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นค่อนข้างตรง กิ่งมักคดงอ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกเรียบสีเทา น้ำตาลอมเทา หรือน้ำตาลแดง มีรูระบายอากาศทั่วไป บางทีอาจแตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ ใบเป็นช่อเรียงสลับกัน ใบย่อยมน เนื้อหนา เกลี้ยง ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลกลม แข็ง ขนาดโต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ ซม. ผลแก่จะแตกตามรอยประสานเป็น ๔ กลีบ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงอ่อน ถึงแดงแกมม่วงจัด มักมีริ้วสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนค่อนข้างสน เนื้อค่อนข้างละเอียด และสม่ำเสมอ แข็ง แข็งแรง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๑ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๙๑๘ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๓๑๔ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๑๔,๙๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๘๐ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๕.๕ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา ขื่อ รอด ตง กระดานพื้น และฝาต่อเรือ ทำเครื่องเรือน ซี่ล้อเกวียน ด้ามเครื่องมือ ตัวถังรถ ไม้สำหรับกลึง แกะ สลัก ลักษณะเหมือนไม้ตะบูนขาว ควรใช้ร่วมกันได้
เปลือกและเมล็ด รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด และต้มชะล้างบาดแผล
|