|
|
|
|
|
[4601] แคหิน ( Stereospermum peronatum) BIGNONIACEAE แคหิน(ภาคกลาง,ภาคเหนือ),แคเขา(สุราษฎร์ธานี),แคทราย,แคนา(ราชบุรี),แคฝอย,แคหันแห้(ลำปาง), แคสัก(ราชบุรี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ ตามบริเวณใกล้ลำห้วย ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตก |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๕ เมตร ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีน้ำตาล กระพี้สีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเหลือง ใบย่อย ๓-๕ คู่รูปทรงมน ขนาดประมาณ ๔-๕ x ๖-๑๒ ซม. ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ ท้องใบมีต่อมน้ำมัน สีคล้ำกระจัดกระจาย ใบแก่ไม่มีขน ช่อดอกแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง แต่ค่อนข้างโปร่ง อาจเรียบ เกลี้ยง หรือมีขนละเอียดเพียงบางๆบ้างเล็กน้อย ก้านช่อดอกยาวถึง ๒๒ ซม. กลีบดอกรูปท่อมีลักษณะบวมพองและโค้งงอเล็กน้อย ยาวประมาณ ๑๗-๒๒ มม. มีขนหนาแน่นบริเวณปากท่อ ผลเป็นฝักยาวเรียวและบิดงอ ฝักแก่จะยาวถึง ๗๕ ซม. กว้าง ๘-๑๒ มม. รูปทรงค่อนข้างไปทางสี่เหลี่ยม มีสันคมตามยาวของฝักยื่นออกมาอย่างชัดเจน ๔ สัน |
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นกับกระพี้ต่างกันอย่างชัดเจน เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลคล้ำ เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ แข็ง เหนียว เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งยาก เพราะเนื้อไม้เป็นทราย ขัดชักเงาได้ดีพอสมควร |
ความถ่วงจำเพาะ
|
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๖ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่นทำกระดานพื้น ฝา สะพาน ด้ามเครื่องมือ และเครื่องเรือน
ราก ใบ ดอก ใช้เป็นยาแก้ไข้
|
|
|