|
|
|
|
|
[4462] มะค่าแต้ ( Sindora siamensis) CAESALPINIACEAE มะค่าแต้(ทั่วไป),กรอก๊อส(เขมร พระตะบอง),ก่อเก๊าะ,ก้าเกาะ(เขมร สุรินทร์),กอกก้อ(ชาวบน นครราชสีมา), แต้(ตะวันออกเฉียงเหนือ),มะค่าหนาม(ภาคกลาง,ภาคเหนือ),มะค่าหยุม(ภาคเหนือ)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าแดง และป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๕ เมตร ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง ไม่มีพูพอน เรือนยอดมักเป็นพุ่มแบนกว้างๆ คล้ายรูปร่ม ปลายกิ่งห้อยลู่ลง เปลือกสีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นสะเก็ดถี่ๆ หรือเรียบ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนมีขนบางๆใบเป็นช่อ มีใบย่อย ๓-๔ คู่ รูปรี หรือรูปบรรทัดแกมรูปรี กว้าง ๓-๘ ซม. ยาว ๖-๑๕ ซม. ปลายกลม หยักเว้าตื้นๆ ตรงกลางเล็กน้อย โคนแหลม หรือกลม หลังใบมีขนละเอียดสั้นๆประปราย ท้องใบมีขนหนาแน่น ดอกสีแดงอมเหลือง ออกเป็นช่อ ยาว ๑๐-๒๕ ซม. มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ผลเป็นฝักรูปทรงต่างๆกัน ส่วนใหญ่จะค่อนไปทางรูปไข่ ขนาด ๔-๙ ซม. มีจะงอยแหลมที่ปลาย ยาว ๕-๗ มม. ผนังมีหนามแหลม แข็ง เป็นจำนวนมาก แต่ละฝักมี ๑-๓ เมล็ด |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลแก่ ทิ้งไว้นานสีเข้มขึ้น มีเส้นผ่าน ซึ่งมีสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสน เนื้อค่อนข้างหยาบ แต่สม่ำเสมอ เป็นมันเลื่อม แข็ง แข็งแรงมาก ทนทาน ทนมอดปลวกได้ดี เลื่อย ไสกบ ตบแต่งยาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๔๑ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๒๙๕ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๒๑ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๕๒,๒๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๒.๑๒ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๒๖.๒๐ น้ำเย็นร้อยละ ๑๘.๘๓ น้ำร้อนร้อยละ ๒๓.๘๖ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๓๘.๔๔ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๗๗ เพ็นโตซานร้อยละ ๙.๐๓ ลิกนินร้อยละ ๒๓.๗๖ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๓.๖๒ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๔๔.๖๖ |
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๗ ปี ขึ้นไป |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ทำไม้หมอนรองรางรถไฟ เสา เครื่องเกวียน เครื่องไถนา ลูกกลิ้งนาเกลือ เครื่องเรือน ทำพื้น รอด ตง และเครื่องบนได้ทนทานและแข็งแรงดี ใช้ทำโครงเรือใบเดินทะเล
เปลือกและฝัก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol
|
|
|