|
|
|
|
|
[4213] ก่อกระดุม ( Quercus semiserrata) FAGACEAE ก่อกระดุม(ตราด),ก่อเซียก,ก่อหิน,ตองขน(เลย),ก่อตาหมูหลวง(เชียงใหม่),ก่อเนื้อริ้ว(ตรัง),ก่อแอบ(เพชรบูรณ์)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าแดง และป่าดงดิบเขา ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๑-๓๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงรูปไข่ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่อง ตามยาวของลำต้น และเป็นสะเก็ดหนาๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมนแกมรูปไข่ ขอบหยัก ออกเรียงสลับกัน ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ออกรวมกันเป็นช่อแบบหางกระรอก ช่อดอกเพศผู้จะห้อยย้อยลง ดอกออกตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง ผลแป้น เกลี้ยง ออกเดี่ยวๆหรือรวมกันเป็นกระจุกๆละ ๓-๕ ผล มีถ้วยรองรับตัวผล |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลปนแดง มีเส้นสีคล้ำผ่าน เสี้ยนตรงและอาจสับสน เนื้อค่อนข้างหยาบ และไม่สม่ำเสมอ แข็ง |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๕ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ประมาณ ไม่ต่ำกว่า ๕ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา พื้น ฝา รอด ตง เครื่องมือ และ เครื่องมือกสิกรรม |
|
|