[409] ตะแบกเลือด ( Terminalia mucronata) - โคะกาง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) เปีย (อุบลราชธานี) เปื๋อยปี๋ เปื๋อยปั๋ง เปื๋อยเลือด (ภาคเหนือ) มะเกลือเลือด (ภาคกลาง)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าเบญจพรรณทั่วไป เว้นแต่ทางภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร เรือยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก โคนมีพูพอนต่ำๆ เปลือกสีเทา หลุดเป็นสะเก็ดแผ่นๆ เปลือกในสีแดงคล้ำ ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน ขนาด ๕-๗ x ๑๐-๑๗ ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ มีขนอ่อนนุ่มสีขาว เป็นมันเหมือนเส้นไหมปกคลุม ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ซึ่งมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เมื่อใบแก่ขนอาจจะร่วงหลุดไป ดอกสีขาวค่อนข้างเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ไม่แตกกิ่งก้าน ก้านช่อดอกยาว ๑๒-๑๖ ซม. ช่อดอกอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๔-๕ มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศทั้งสิ้น ผลเป็นพวกผลแห้งผิวแข็ง (nut) ลักษณะแบน มีครีบ ๒ ครีบ ปีกด้านข้างทั้งสองแผ่กว้างชนกันเกือบกลม ตัวผลมีรูปร่างมน กว้าง ๓-๔ ซม. ยาว ๓-๕ ซม. มีเมล็ดเดียว ลักษณะแข็ง เต็มไปด้วยน้ำมัน |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลปนแดง เสี้ยนสน เนื้อค่อนข้างหยาบ เหนียว แข็ง ตบแต่งยาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๒๔ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๔๗๘ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๘๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๕๕ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒.๗-๑๔.๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๗.๖ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างส่วนต่างๆ ของอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในร่ม ใช้ทำเสา เสาเข็ม ฯลฯ
ไม้และเปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol
เปลือก ปรุงเป็นยาแก้บิด มูกเลือด และลงแดง
|