[3796] นนทรี ( Peltophorum pterocarpum) CAESALPINIACEAE นนทรี(ทั่วไป),กระถินป่า,กระถินแดง(ตราด),สารเงิน(แม่ฮ่องสอน)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าชายหาด และนิยมปลูก เป็นไม้ประดับตามข้างถนน ตามสวนสาธารณะ และสถานที่ราชการทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๘-๑๕ เมตร ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง เปลือกสีเทาอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆทั่วไป เรือนยอดเป็นรูปร่ม หรือรูปทรงกลมกลายๆตามกิ่ง และก้านอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป ส่วนกิ่งแก่จะเกลี้ยง ใบเป็นช่อ เรียงสลับเวียนกันถี่ๆ ตามปลายกิ่ง ดูเป็นกลุ่ม ช่อยาว ๒๐-๒๗ ซม. มีช่อแขนงใบย่อยออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ๙-๑๓ คู่ แขนงย่อยคู่ต้นๆจะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ปลายช่อสั้นเช่นเดียวกัน ใบย่อยเล็กเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน กว้างประมาณ ๕ มม. ยาว ๑๐-๑๕ มม. โคนเบี้ยว ปลายทู่ๆ หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อตั้งตรง ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านแขนงมาก อยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง ยาว ๒๐-๓๐ ซม. ผลเป็นฝักแบนๆ รูปรี ปลายและโคนสอบแหลม กว้างประมาณ ๒ ซม. ยาว ๕-๑๒ ซม. สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่จัดจนแห้งออกสีน้ำตาลดำ แต่ละฝักมี ๑-๔ เมล็ด เรียงตามยาวของฝัก |
ลักษณะเนื้อไม้
สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือเป็นคลื่น หรือสับสนบ้างเล็กน้อย เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๔ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๒๖ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๙๔๖ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๐๔,๒๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๗๙ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๖-๑๖.๒ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๒ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น ฝา เพดาน ทำเครื่องเรือน ไม้บุผนังที่สวยงาม ไถ ปีบใส่ของ พานท้ายและรางปืน
เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ และโลหิต แก้ท้องร่วง ขับผายลม
|