[3750] สะเหรี่ยง ( Parkia timoriana) MIMOSACEAE สะเหรี่ยง,กะเหรียง,เรียง(ภาคใต้),นะกิง,นะริง(มลายู ภาคใต้)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดงดิบทั่วภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๑๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่ บางทีสูงถึง ๔๐-๕๐ เมตร โคนต้นเป็นพูพอนสูงๆ ลำต้นส่วนมากค่อนข้างเปลาตรง เปลือกเรียบ สีเทาปนเขียวอ่อน กิ่งก้านมีขนประปราย ลักษณะทั่วไปคล้ายกับสะตอ แต่พุ่มใบแน่นและสีเขียวทึบกว่าสะตอ ใบเป็นช่อยาว ๒๕-๔๐ ซม. มีช่อแขนงด้านข้าง ๑๘-๓๓ คู่ ช่อแขนงยาวประมาณ ๗-๑๒ ซม. มีใบย่อยช่อละ ๔๐-๗๐ คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง ๕-๗ มม. ยาว ๑๕-๑๘ มม. ปลายแหลมโค้งไปข้างหน้า โคนมักยื่นเป็นติ่งเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อกลม ขนาด ๒ x ๔ ซม. ผลเป็นฝัก กว้าง ๓-๔ ซม. ยาว ๒๒-๒๘ ซม. ตรง เปล็ดรูปไข่ ขนาดประมาณ ๑๑ x ๒๐ มม. มีประมาณฝักละ ๒๐ เมล็ด เปลือกหนาสีคล้ำ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาวนวล ไม่มีแก่น อ่อน และเปราะ เสี้ยนตรง สม่ำเสมอ เลื่อย ผ่าได้ง่าย แต่ใช้ไม่ทนทาน เว้นแต่จะได้อาบน้ำยาเสียก่อน |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๘ |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๕๔
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๓๖
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๓
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๒๗๘ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๘๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๘๘,๗๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๖๑ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๕-๕.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๓ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำของเด็กเล่น รองเท้าไม้ หีบใส่ของ เครื่องเรือน ฯลฯ
เมล็ด ใช้เป็นยาแก้จุกเสียด
ต้นอ่อน ที่งอกจากเมล็ดและยังมีเมล็ดติดอยู่แบบถั่วงอก ใช้ดองรับประทานเป็นผักดอง
|