|
|
|
|
|
[3512] ยอป่า ( Morinda coreia) RUBIACEAE ยอป่า(ทั่วไป),คุ(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),คุย(พิษณุโลก),โคะ(กระเหรี่ยง),สลักป่า,สลักหลวง(ภาคเหนือ)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดง เว้นแต่ทางภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง ๔-๑๕ เมตร ผลัดใบ ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรีๆ ตามก้านและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกนอกสีน้ำตาลแดงหรือเทา หรือสีเทาปนน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามยาวและขวางลำต้น หรืออาจเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ เปลือกในสีแดงเรื่อๆ หรือสีเทาอ่อน ใบมน รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปดาบ ขนาด ๔.๐-๗.๕ x ๘-๑๗ ซม. โคนส่วนมากคอดเรียวไปสู่ก้านใบ บางทีก็เบี้ยว ปลายส่วนมมากเรียว บางทีมนป้อม เนื้อค่อนข้างบาง ท้องใบมีขนนุ่มหนา หลังใบมีขนสากประปราย ใบแห้งออกสีดำ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแจกันทรงสูง ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ ผลมีผิวเป็นปุ่มปม เนื้อในสีขาว มีน้ำมาก เมล็ดบิดเบี้ยว ไม่มีปีก |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองอ่อน ถึงเหลืองแก่ เสี้ยนตรง เนื้อไม่สู้ละเอียด เหนียวพอประมาณ เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๗ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๔ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๔ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา เครื่องเรือน จาน ตลับไม้ ครก สาก กระเดื่อง พานท้ายและใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
ราก แก้เบาหวาน
ใบ อังไฟพอตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้ม้ามโต แก้จุกเสียด แก้ไข้
ใบสด ตำพอกศีรษะ เป็นยาฆ่าเหา
ผลอ่อน รับประทานเป็นยาแก้คลื่นเหียนอาเจียน
ผลสุกงอม เป็นยาขับระดูสตรี และขับลมในลำไส้
เปลือกราก เนื้อไม้ และใบ ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
|
|
|