|
|
|
|
|
[3456] ขะเจ๊าะ ( Millettia leucantha) PAPILIONACEAE กระพี้เขาควาย(ประจวบคีรีขันธ์),กระเจาะ,ขะเจาะ(ภาคเหนือ),กะเซาะ(ภาคกลาง),ขะแม,คำแมบ(เชียงใหม่),สาธร
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ในป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบ ใบอ่อนและยอดอ่อน มีขนนุ่มคล้ายเส้นไหม เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตื้นๆ กระพี้สีขาว อมน้ำตาล ใบเป็นช่อแบบขนนก มีใบย่อยอยู่ที่ปลายช่อใบหนึ่ง ช่อใบยาว ๒๐-๓๐ เมตร ใบย่อยนอกนั้นออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ส่วนมากจะมีเพียง ๓ คู่ รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๓-๖ ซม. ยาว ๕-๑๒ ซม. ส่วนกว้างที่สุดอยู่ประมาณกึ่งกลางใบ และค่อยๆเรียวเล็กไปทางโคนและปลาย โคนสอบเข้าเป็นรูปลิ่ม หรือมนกลมเล็กน้อย ปลายมนโค้งแล้วเรียวแหลมยื่นออกไปเห็นได้ชัด ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ มีขนนุ่มสั้นๆ ทั้งสองด้าน เมื่อใบแก่จะร่วงหลุดไป ดอกสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งอ่อน เมื่อกิ่งนั้นเติบโตขึ้น จะดูเหมือนช่อดอกออกตรงข้ามกับใบใกล้ยอด ผลเป็นฝัก มีเปลือกแข็ง ลักษณะแบนยาว คล้ายมีดดาบ กว้าง ๒ ซม. ยาว ๔-๑๐ ซม. ส่วนกว้าที่สุด ค่อนไปทางปลายฝัก ฝักอ่อนมีขนสั้นๆ พอแก่จะร่วงหลุดไป เมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะแบนคล้ายโล่ห์ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๓ มม. ฝักหนึ่งมี ๑-๓ เมล็ด |
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อตัดใหม่ๆ สีเทาอมม่วง พอถูกอากาศนานเข้า เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วง ถึงสีน้ำตาลปนสีช็อคโกแลตเข้ม มีริ้วสีอ่อน และสีแก่กว่าสีพื้นสลับกัน ถ้าตัดได้ฉากกับวงเจริญ เสี้ยนมักตรง เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรง และทนทานดีมาก เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่ง และชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๒๐ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๒๐๒ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๕๑๗ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๓๕,๘๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๔.๕๓ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสาเรือน ขื่อ รอด ตง ล้อเกวียน เพลาเกวียน เครื่องเรือนอย่างดี บัวรองฝา ฯลฯ ลวดลายสวยงามมาก นอกจากนี้ยังใช้ทำครก สากก กระเดื่อง ทำลูกหีบ ส่วนต่างๆ ของเกวียนและตัวถังรถ กระสวย ดินสอ ไม้เท้า ด้ามร่ม |
|
|