|
|
|
|
|
หางรอก
(Miliusa velutina Hook. f. & Th. ) T [3447]
ANNONACEAE
|
|
|
หางรอก,ยางโดน(พิจิตร),โกงกาง,จอแจ(นครราชสีมา,ปราจีนบุรี),ขางหัวหมู(ภาคเหนือ), โจรเจ็ดนาย,หัวใจไมยราบ(ประจวบคีรีขันธ์),เต็งใบใหญ่,บังรอก,หางค่าง,หำรอก(ราชบุรี,ประจวบคีรีขันธ์),
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[3447] หางรอก ( Miliusa velutina) ANNONACEAE หางรอก,ยางโดน(พิจิตร),โกงกาง,จอแจ(นครราชสีมา,ปราจีนบุรี),ขางหัวหมู(ภาคเหนือ), โจรเจ็ดนาย,หัวใจไมยราบ(ประจวบคีรีขันธ์),เต็งใบใหญ่,บังรอก,หางค่าง,หำรอก(ราชบุรี,ประจวบคีรีขันธ์),
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าผลัดใบผสม ทางภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคเหนือ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๐๐-๔๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๕-๑๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนา ขรุขระ สีเทาปนน้ำตาล กลิ่นเหม็น แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลืองอ่อน มีน้ำเลี้ยงสีแดง กระพี้สีขาวหรือเหลืองอ่อน ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป ใบมนป้อม ขนาด ๔-๑๔ * ๙-๑๒ ซม. ปลายมนหรือหยัก เป็นติ่งสั้นๆ โคนมนกว้าง ท้องใบมีขน หลังใบค่อนข้างสาก ดอกเล็ก ออกเป็นช่อเดี่ยวๆตามง่ามใบหรือตามปลายกิ่ง ผลเกาะเป็นกลุ่มอยู่บนแกนตุ้ม ตุ้มหนึ่งมี ๑๒ ผลขึ้นไป ก้านช่อตุ้มยาว ๘-๑๐ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองอ่อนอมเขียวเล็กน้อย คล้ำกว่าสีกระพี้เล็กน้อย เสี้ยนค่อนข้างตรง หรือสนเล็กน้อย เนื้อละเอียด แข็งปานกลาง ไสกบ ตบแต่งไม่สู้ยาก ขัดชักเงาได้ดีพอสมควร |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๔ |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๔.๖๐
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๙.๘๙
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๐๘
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ๓๓๑ ประมาณ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๕๖๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๘๓,๖๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๑๐ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๓-๗ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๓ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างในที่ร่ม เช่น กระดานพื้น ฝา ฯลฯ เสาเข็ม แจว พาย กรรเชียง |
|
|