|
|
|
|
|
[3328] จันทน์ชะมด ( Mansonia gagei) STERCULIACEAE จันทน์ชะมด(ประจวบคีรีขันธ์),จันทน์ขาว,จันทน์พม่า,จันทน์หอม(ภาคกลาง)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ห่างๆกันตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป เว้นแต่ทางภาคเหนือ นอกจากนี้อาจพบขึ้นกระจัดกระจายอยู่บนเขาหินปูน |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๓๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปกรวยต่ำๆ เปลือกสีเทาอมขาว เป็นเส้นใยหนา เปลือกชั้นในเมื่อถากใหม่ๆสีขาว ทิ้งไว้ให้แห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นชนิดเดี่ยว รูปมนแกมรูปหอก แขนงใบออกสีดำ ท้องใบมีขนสีอ่อนๆ ประปราย หลังใบเกลี้ยง ขอบหยัก เป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง ตามส่วนต่างๆ ภายนอกมีขนสีเทานุ่มทั่วไป ผลสีเหลืองอ่อน รูปไข่กลับ ส่วนปลายมีครีบ เป็นปีกยาวประมาณ ๑-๓ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด แข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ไม้ที่ตายเองมีกลิ่นหอม |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๓ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า หีบใส่ของ เครื่องใช้ขนาดเล็ก เครื่องแกะสลัก หวี ดอกไม้จันทน์ ขี้เลื่อยใช้ทำธูปหอม น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอม เครื่องสำอางต่างๆ น้ำอบไทย และทำยา เนื้อไม้มีรสขมปร่า หวานเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น และบำรุงหัวใจ |
|
|