[3269] ละมุดสีดา ( Madhuca grandiflora) SAPOTACEAE ละมุดสีดา(ตราด),มะซาง(ภาคกลาง)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าดงดิบทางภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๔๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๑๐-๑๕ เมตร ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องเล็กไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลปนแดง ใบรูปหอกแคบๆ หรือรูปหอกแกมรูปไข่กลับ ออกเรียงเวียนสลับถี่ๆตามปลายกิ่ง เป็นกลุ่มขนาด ๒-๕ x ๑๐-๑๖ ซม. โคนสอบเรียว ปลายสอบเรียว บางทีมน เนื้อหนา เกลี้ยง ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่น ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกใหญ่ๆตามปลายกิ่ง บางทีออกตามง่ามใบ ผลกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. ผลอ่อนยังคงมีหลอดเกสรเพศเมียติดอยู่ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงปนน้ำตาลเข้ม หรือสีอิฐแก่ เนื้อละเอียด เรียบ สม่ำเสมอ ค่อนข้างสนบ้างเล็กน้อย แน่น หนัก แข็งและเหนียว เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยาก แต่ขัดชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๒ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๐๗๙ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๔๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๐,๓๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๒.๐๗ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณไม่ต่ำกว่า ๕ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา ทำกระดานพื้น ฝา รอด ตง เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ ด้ามเครื่องมือ พานท้ายและรางปืน ไม้สำหรับกลึง แกะ สลัก ฯลฯ |