|
|
|
|
|
[322] เทียะ ( Alstonia spathulata) APOCYNACEAE เทียะ, เซียะ, ตีนเป็ดพรุ(ใต้),ติน (เบอร์กิลล์)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามที่ราบต่ำๆในป่าพรุ ที่ที่ชื้นแฉะ มีน้ำขัง และตามบริเวณป่าดงดิบที่ค่อนข้างโปร่ง ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส บางครั้งก็พบขึ้นปะปนอยู่กับไม้โกงกางด้วย |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร โคนต้นมักจะเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอ่อน หรือสีเทาอมเหลือง ใบรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนแหลม ออกเป็นวง แต่ละวงมีประมาณ ๓-๕ ใบ ดอกออกเป็นกลุ่ม บนช่อที่แยกกิ่งก้านออกมาจากจุดเดียวกัน ผลเป็นฝัก ยาวประมาณ ๑๓-๒๐ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาวนวล หรือน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้อ่อนมาก แต่ว่าเหนียวมาก เมื่อเทียบตามน้ำหนัก เป็นไม้ที่เบาที่สุดในโลก เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย แต่ต้องใช้เครื่องมือที่ละเอียด และคมดีจริงๆ มิฉะนั้น เนื้อไม้จะฉีก ทำให้ผิวไม้เป็นขน |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๐๙ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ เนื่องจากยังไม่เคยทำเป็นสินค้า จึงยังไม่ทราบการใช้แน่นอน เท่าที่ทราบ มีการเอาไม้จากราก ซึ่งเบากว่าเนื้อไม้จากลำต้น ไปทำตุ๊กตาต่างๆ ทุ่นเบ็ด ทุ่นอวน ทางงอินโดจีน และมาเลเซีย ใช้ทำโครงหมวกกันแดด มีลักษณะคล้ายไม้ บาลซ่า (Balsa Ochroma lagopus) ของอเมริกาใต้ ซึ่งมีความถ่วงจำเพาะประมาณ ๐.๑๗ ไม้บาลซ่า ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น รองพื้นแผ่นเกราะเรือประจัญบาน กรุห้องเย็น ทำเครื่องชูชีพ |
|
|