|
|
|
|
|
[321] สัตบรรณ ( Alstonia scholaris) APOCYNACEAE สัตบรรณ(กลาง, เขมร-จันทบุรี); กะโน้ะ(เขมร-แม่ฮองสอน); จะบัน(เขมร-ปราจีนบุรี); ชบา, ตีนเป็ด, พญาสัตบรรณ(กลาง); ตีนเป็ดขาว(ยะลา); บะซา, ปูลา, ปูแล(มลายู-ยะลา, ปัตตานี); ยางขาว(ลำปาง); หัสบรรณ(กาญจนบุรี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่างๆกัน ในป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และตามริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณชื้น ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร โคนต้นมักจะเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอ่อน หรือเทาอมเหลือง ค่อนข้าหนา แต่เปราะ ใบเรียงกันเป็นวง แต่ละวงมี ๔-๗ ใบ รูปมนแกมรูปบรรทัด หรือมนแกมรูปไข่กลับ ปลายมักแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ดอกขนาดเล็ก สีเขียวออกขาว หรือเขียวอมเหลือง ออกเป็นกลุ่มบนช่อที่แตกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกัน ผลเป็นฝักกลม ยาว เรียว และห้อยลง ขนาดโตเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒-๕ มม. เมล็ดรูปบรรทัดแคบๆ ยาวประมาณ ๗ มม. มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง |
ลักษณะเนื้อไม้
ไม่มีแก่น เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ ค่อนข้างเหนียว เด้ง อ่อน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่ายมาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๑ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๔.๐๑ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๙๙ น้ำร้อนร้อยละ ๕.๕๕ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๓.๙๙ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๒๔ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๓.๑๕ ลิกนินร้อยละ ๓๑.๗๒ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๙.๓๕ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๓.๕๑ |
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๘-๒.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑.๔ ปี เป็นไม้ที่เห็ดราทำลายไม้ และเห็ดราย้อมสีชอบ ทำให้ผุง่าย และขึ้นราสีดำเร็ว แมลงชอบทำลาย ฉะนั้น ในการทำไม้ เมื่อตัดโค่นล้มลงแล้ว ต้องรีบทำการชักลาก ออกมาเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย มิเช่นนั้น จะถูกปลวกเจาะทำลาย และขึ้นราสีดำ สำหรับไม้ซุงท่อน ควรเก็บรักษาไว้ในน้ำ เพื่อป้องกันแมลง และเห็ดราทำลาย |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเครื่องใช้ หีบใส่ของ รองเท้าไม้ ฝักมีด หีบศพ ลูกทุ่นอวน แจว พาย กรรเชียง หีบใส่ใบชา ของเล่นสำหรับเด็ก ทำไม้จิ้มฟัน ลักษณะคล้ายไม้ทุ้งฟ้า ควรใช้ร่วมกันได้
เปลือก รักษาโรคบิด ขับไส้เดือน แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ และเป็นยาสมานลำไส้
ใบ ใช้พอกดับพิษต่างๆ
ยาง ทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย ผสมกับน้ำมันแก้ปวดหู เป็นยาบำรุงกระเพาะ และยาบำรุงภายหลังเจ็บไข้
|
|
|