|
|
|
|
|
กะทังใบใหญ่
(Litsea grandis Hook . f. ) T [3186]
LAURACEAE
|
|
|
กะทังใบใหญ่,กะทัง(ภาคใต้),กะตา,กายูกะตา,มือแด,มือแด็ง(มลายู นราธิวาส),กายูมือแด,มือแต(มลายู ปัตตานี), ทังทอง(สุราษฎร์ธานี),มะดัง(นราธวาส),ส้งต้ง(ยะลา)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[3186] กะทังใบใหญ่ ( Litsea grandis) LAURACEAE กะทังใบใหญ่,กะทัง(ภาคใต้),กะตา,กายูกะตา,มือแด,มือแด็ง(มลายู นราธิวาส),กายูมือแด,มือแต(มลายู ปัตตานี), ทังทอง(สุราษฎร์ธานี),มะดัง(นราธวาส),ส้งต้ง(ยะลา)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณชื้น บนพื้นที่ราบและตามภูเขา มีมากทางภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๘-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม เป็นตุ่มขรุขระตามส่วนอ่อนๆ มีขนสีเทาหนาแน่น ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมนแกมรูปไข่กลับ เรียงสลับกัน โคนเบี้ยว หรือสอบ ท้องใบมีขนนุ่มหนาแน่น หลังใบเกลี้ยง ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป้นกระจุกตามง่ามใบของกิ่งเล็ก หรือเหนือรอยแผลใบ ผลกลม รี เกลี้ยง ออกเป็นพวงตามกิ่ง |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลือง ถึงสีน้ำตาลแกมเหลือง สีจะเข้มขึ้นเมื่อทิ้งไว้นานๆ เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ เป็นมัน อ่อน ผึ่งแห้งได้ง่าย และไม่เสื่อมเสีย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๕ |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๘๗
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๗.๑๙
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๐
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๗-๑๔.๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๘.๗ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ต่อเรือ ทำเรือมาด ทำหีบศพ และหีบใส่ของ ครก สาก กระเดื่อง เกวียน ทำหูก หวี พานท้ายและรางปืน กระเบื้องไม้ ลักษณะคล้ายไม้ทำมัง ควรใช้ร่วมกันได้
เมล็ด ให้น้ำมันที่เรียกว่า ทังออยล์ หรือ ทังอิ๊ว ใช้ทำน้ำมันใส่ผม บำรุงรากผม
|
|
|