|
|
|
|
|
[2915] หลุมพอ ( Instia palembanica) CAESALPINIACEAE หลุมพอ,กะลุมพอ(ภาคใต้),มือบา(มลาย ปัตตานี),เมอบา(มลายู ภาคใต้), สะหลุมพอ(ปราจีนบุรี),
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้นตามที่ราบ ทางภาคใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง ๘๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๕-๔๐ เมตร ผลัดใบ โคนต้นมักจะเป็นพูพอนสูงใหญ่ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกเรียบ หรือตกสะเก็ดเป็นแผ่นกลมบางๆ มีสีต่างๆกัน ที่พบบ่อยๆมักจะออกสีชมพูอมน้ำตาล หรือเทาอมชมพู ใบออกเป็นช่อ มีใบย่อย ๔ คู่ รูปใบหอกแกมรูปไข่กว้าง ๕ ซม. ยาว ๙ ซม. ปลายสอบแหลม เว้าตื้นๆ ตรงปลายสุดเล็กน้อย โคนกลม เนื้อเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีเหลืองอ่อนอมเทา ยาว ๕-๑๐ ซม. ผลเป็นฝัก กว้าง ๖-๘ ซม. ยาว ๑๕-๔๐ ซม. เมล็ดรูปกลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงอ่อนอมน้ำตาล เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็ง เหนียว แข็งแรง และทนทานมาก เพรียงไม่ค่อยกิน ไสกบ ตบแต่งไม่ค่อยยาก ขัดชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๐ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๗๓ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๖๒๖ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๓๙,๕๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๗๕ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๖.๖๘ น้ำเย็นร้อยละ ๑๑.๒๑ น้ำร้อนร้อยละ ๑๔.๐๑ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๕.๔๖ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๕๒ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๒.๑๓ ลิกนินร้อยละ ๒๕.๐๐ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๔.๕๒ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๐.๐๓ |
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๒.๐-๒๒.๙ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๔.๕ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำสะพาน เสา หมอนรองรางรถไฟ เกวียน เครื่องเรือน เป็นไม้ที่สวยงามดี เหมาะสำหรับทำเครื่องเรือน ทำพื้น รอด ตง ขื่อ อกไก่ ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำลูกประสักโครงเรือใบเดินทะเล แจว พาย กรรเชียง เสากระโดงเรือ ไถ คราด ครก สาก กระเดื่อง ฟันสีข้าว ตัวถังรถ ด้ามเครื่องมือ ทำหูก ด้ามหอก ไม้สำหรับกลึง แกะ สลัก กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำและกังหันน้ำ ทำรางแร่ พานท้ายและรางปืน
มีลักษณะคล้ายไม้มะค่าโมง ควรใช้แทนกันได้
|
|
|