|
|
|
|
|
โมกใหญ่
(Holarrhena antidysenterica Wall. ) [2769]
APOCYNACEAE Kurchi
|
|
|
โมกใหญ่(ภาคกลาง),ยางพุด(เลย),หนามเนื้อ(เงี้ยว ภาคเหนือ),ซอทึ,พอแก, ส่าทึ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),พุด(กาญจนบุรี),พุทธรักษา(เพชรบุรี), มูกมันน้อย,มูกมันหลวง,มูกหลวง,โมกเขา,โมกทุ่ง,โมกหลวง(ภาคเหนือ)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[2769] โมกใหญ่ ( Holarrhena antidysenterica) APOCYNACEAE โมกใหญ่(ภาคกลาง),ยางพุด(เลย),หนามเนื้อ(เงี้ยว ภาคเหนือ),ซอทึ,พอแก, ส่าทึ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),พุด(กาญจนบุรี),พุทธรักษา(เพชรบุรี), มูกมันน้อย,มูกมันหลวง,มูกหลวง,โมกเขา,โมกทุ่ง,โมกหลวง(ภาคเหนือ)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ห่างๆกัน ตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ถึงขนาดกลาง เปลือกสีเทา หรือสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีเหลืองอ่อน ใบรูปมนกว้าง หรือรูปไข่แกมรูปบรรทัด ขนาดประมาณ ๕-๑๒ x ๘-๒๔ ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลมเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทาอมเหลืองหนาแน่น พอแก่อาจร่วงไปหมด หรือเหลือเพียงประปราย ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกกว้างประมาณ ๗-๑๒ ซม. มีขนสั้นและอ่อนนุ่มประปราย ผลเป็นฝักคู่ ยาวประมาณ ๒๐-๓๕ ซม. ทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔-๙ มม. มักมีต่อมระบายอากาศเล็กๆกระจัดกระจาย เมล็ดรูปบรรทัดแคบๆ ยาวประมาณ ๑.๔ ซม. ตรงหัวมีขนอ่อนนุ่มสีน้ำตาลอ่อนติดอยู่เป็นกระจุก |
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อเลื่อยใหม่ๆ สีขาว ทิ้งไว้นานเข้ากลายเป็นสีขาวนวล ถึงสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด และสม่ำเสมอ เบา เหนียว และเด้ง เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๖๖ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำสันแปรง กรอบรูป เครื่องเรือน เครื่องกลึง แกะสลัก ไม้ถือ ด้ามปากกา ไม้บรรทัด ตะเกียบ ทำไม้ฉาก หวี เครื่องเล่นสำหรับเด็ก
เปลือก ใช้รักษาโรคบิด
เมล็ด เป็นยาสมานท้อง
|
|
|