|
|
|
|
|
[2510] ตะคร้ำ ( Garuga pinnata) BURSERACEAE ตะคร้ำ(ภาคกลาง),กะตีบ,แขกเต้า,ค้ำ,หวีด(ภาคเหนือ),ปีชะออง(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี), อ้อยน้ำ(จันทบุรี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณ และชายป่าดิบแล้ง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคกลาง สูงจากระดับน้ำทะเล ๕๐-๘๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๒-๒๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูพอน เรือนยอดมีกิ่งก้านสาขา ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมรขนสีเทาๆทั่วไป จะมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ค่อนข้างหนา แต่อ่อนนุ่ม ผิวเรียบ หรือตกสะเก็ดเล็กน้อย เปลือกในสีแดง หรือสีนวล มีทางสีชมพูสลับ เมื่อสับดูจะมียางสีชมพูปนแดงไหลออกมา กระพี้สีชมพูอ่อน ถึงขาวหรือขาวอมเหลือง แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบเป็นใบผสมเรียงเวียนสลับกันเป็นกลุ่ม ตอนปลายๆกิ่ง ก้านหนึ่งๆมีใบย่อย ๗-๑๓ ใบ เรียงตรงข้ามกัน หรือทแยงเล็กน้อย รูปมนแกมรูปขอบขนาน ขนาด ๒-๔ x ๓-๑๐ ซม. โคนเบี้ยว ปลายสอบ หรือหยักเป็นติ่งแหลม ขอบหยักเป็นฟันเลื่อยถี่ๆ ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์ สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบ และปลายกิ่ง มีกลีบดอก ๕ กลีบ ผลกลมรี เล็กๆ อุ้มน้ำ |
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีชมพูอ่อน ถึงสีน้ำตาลแกมแดง เสี้ยนสน เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ หนัก แข็งพอประมาณ แข็งแรงปานกลาง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๒ (๒๘%) |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๑๒ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๗๐๔ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๐๕,๐๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๓๘ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๔.๔ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น เครื่องเรือน เครื่องแต่งบ้าน หีบและลังใส่ของ ประโยชน์ทางยา ใช้แก้บิด แก้ท้องร่วง ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามโลหิต และแช่ล้างบาดแผลเรื้อรัง
เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol
|
|
|