[2035] ยางเหียง ( Dipterocarpus obtusifolius) DIPTEROCARPACEAE กราด (สุโขทัย) เกาะสะเตียง (ละว้าเชียงใหม่) คร้าด (โซ้นครพนม) ซาด (อุดรธานี อุบลราชธานี) ตะหลาอ่ออามื่อ ล่าทะย่อง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะแบง ตะแบง (นครราชสีมา อุบลราชธานี) ตราด (พิษณุโลก เลย จันทบุรี) ยางเหียง (ราชบุรี) สละอองโว (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) เห่ง
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วประทศ แต่มีมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๘-๒๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา สีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดหนาๆ และเป็นร่องลึกตามยาวลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา กระพี้สีขาวปนเหลือง แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบรูปไข่ขนาด ๑๐-๒๐ x ๑๓-๑๕ ซม. ปลายมน โคนสอบ หรือหยักตื้นๆ เนื้อหนา มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น พื้นใบจีบเป็นร่องแบบรางน้ำ หลังใบแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ท้องใบมีขนห่างๆ ก้านใบมีขนสีน้ำตาลยาวๆทั่วไป ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ปลายกลีบรองดอกแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกมี ๕ กลีบ โคนประสาทติดกัน ผลกลม เกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาลเป็นมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาล หรือแดงอ่อน ถึงน้ำตาลปนแดง เสี้ยนค่อนข้างตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็ง เลื่อย ผ่า ตบแต่งง่าย ใช่ในร่มทนทานดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๐ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๑๖ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๓๕,๕๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๐๐ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๕.๖๐ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๒๒ น้ำร้อนร้อยละ ๓.๖๙ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๒.๒๓ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๖๗ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๔.๐๓ ลิกนินร้อยละ ๒๗.๕๕ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๙.๒๒ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๖๓.๐๔ |
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒.๐-๑๘.๔ ปี เฉลี่ยประมาณ ๘.๘ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป เมื่ออาบน้ำยาแล้วใช้ทำไม้เสาไฟฟ้า เสาโทรเลข-โทรศัพท์ และหมอนรองรางรถไฟได้ดี มีลักษณะเหมือนไม้พลวง กราด และยาง ควรใช้ร่วมกันได้ ใช้ทำพื้น ฝา รอด ตง และเครื่องบน ทำหูก
น้ำมัน ที่ได้จากต้น ใช้ทาไม้ ยาวแนวเรือ และทำไต้
ใบ ใช้เย็บเป็นตับสำหรับมุงหลังคา และทำฝาบ้านเรือน โรงต่างๆ
|