|
|
|
|
|
[2031] ยางกราด ( Dipterocarpus intricatus) DIPTEROCARPACEAE ยางกราด(สระบุรี),ลาง(ชลบุรี),เหียงกราด(ราชบุรี,เพชรบุรี),เหียงน้ำมัน(ราชบุรี) เหือง(ระนอง),กราด,ตาด(นครราชสีมา),กร้าย(ส่วย สุรินทร์),ชะแบง(สุรินทร์), ตรายด์(เขมร-ส่วย สุรินทร์)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๕๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา ๒-๓ เซนติเมตร สีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นสะเก็ด และเป็นร่องตามยาวลำต้น เรือนยอดกลมทึบ กระพี้สีขาวนวล แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบรูปไข่ กว้าง ๑๐-๒๐ ซม. ยาว ๑๕-๒๕ ซม. โคนหยักลึกเป็นรูปหัวใจ ค่อยๆสอบไปทางปลายใบ เนื้อหนา มีขนสีเทาเป็นกระจุกๆทั่วไป โดยเฉพาะด้านท้องใบ ดอกสีชมพูแก่ ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ตามง่ามใบตอบปลายๆกิ่ง ผลแข็ง มีกลีบบางๆ ขยุกขยิก สีแดง หักพับเป็นชั้นๆ ลงมาตามยาวของผล |
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีน้ำตาลแก่ หรือสีน้ำตาลอมแดง มีริ้วสีแก่กว่าพื้น เสี้ยนสน เนื้อหยาบพอประมาณ แข็ง เหนียว ใช้ในร่ม ทนทานดี เลื่อย ไสกบ ตบแต่งไม่ยาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๗ (๑๔%) |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๕๓ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๙๖๙ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๙๒,๖๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๐๓ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๓ปี เฉลี่ยประมาณ ๒ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก ( ชั้นที่ ๕ ) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำพื้น ฝา ฯลฯ และการก่อสร้างอื่นๆ ลักษณะเหมือนไม้ยาง เหียงและพลวง ควรใช้ร่วมกันได้
น้ำมัน น้ำมันกราดที่ได้จากต้น ใช้ทำน้ำมันใส่แผล และโรคเรื้อน รับประทานรักษาโรคหนองใน นอกจากนี้ยังใช้ทำไต้ ทาไม้ ยาเรือ ทาเครื่องจักสาน
|
|
|