[2025] ยางปาย ( Dipterocarpus costatus) DIPTEROCARPACEAE กวู (ปัตตานี) ยางกระเบื้อง ยางเบื้องถ้วย (ประจวบคีรีขันธ์) ยางกล่อง (ตราด) ยางแกน ยางบาย ยางไผ่ ยางพาย ยางฮี (ภาคเหนือ) ยางมันหมู (ใต้) ยางแดง (นครราชสีมา) สะแฝง (เลย) ยางมดคัน
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ๆ ตามป่าดิบแล้งทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐๐-๘๐๐ เมตร ในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี และค่อนข้างลาดชัน เว้นแต่ทางภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๔๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา สีน้ำตาลปนเทา ถึงน้ำตาลแก่ แตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตามยาวของลำต้น มีต่อมระบายอากาศกระจักกระจายอยู่ทั่วไป จะเห็นได้ชัดตามกิ่งอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลปนม่วงแดง กระพี้มีสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบรูปไข่ ขนาด ๔.๐-๘.๕ x ๗-๑๖ ซม. โคนมนกว้าง แล้วค่อยๆสอบไปทางปลายใบ หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อน ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวๆตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง มีช่อละ ๓-๖ ดอก กลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๘-๒.๐ ซม. มีขนสีเทา หรือสีทองประปราย มีครีบ เป็นสันคมรอบตัวผล |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาล ถึงน้ำตาลแกมแดง ด้าน หยาบ เสี้ยนตรง เลื่อย ผ่า ตบแต่งง่าย ผึ่งไม่ยาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๙ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๗๒ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๔๔๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๓๓,๓๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๔.๐๓ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ เช่นเดียวกับไม้พลวง และไม้ยางชนิดอื่นๆ
น้ำมัน ที่ได้จากการเจาะต้น ใช้ใส่แผลรักษาโรคเรื้อน และโรคหนองใน ใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ทาเครื่องจักสาน ทำไต้ และใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้
|