|
|
|
|
|
[1917] ส้านช้าง ( Dillenia pentagyna) DILLENIACEAE ส้านช้าง,มะส้านแข็ง(ภาคกลาง),ส้านนกเปล้า,ส้านแว้(ภาคเหนือ), ส้านนา(ภาคเหนือ,ภาคกลาง),แพ่ง(นครพนม,เลย),
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า ป่าดิบแล้ง และชอบขึ้นปะปนกับไม้สักตามที่ราบ และริมฝั่งน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๖๐๐-๙๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่งๆ เปลือกสีเทา หรือสีน้ำตาลไหม้ ค่อนข้างเรียบ หรือลอกออกเป็นแผ่นบางๆ กระพี้สีขาว แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบรูปไข่กลับ ขนาด ๑๐-๒๓ x ๓๕-๕๐ ซม. ปลายมนกว้างๆ แล้วสอบแคบมาทางโคน เนื้อค่อนข้างบาง หลังใบเกลี้ยง และออกสีน้ำตาลแดงเมื่อแห้ง ท้องใบมีขนสากประปราย พอแห้งออกสีน้ำตาลอ่อน ขอบหยักตื้นๆ ก้านใบเกลี้ยง ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุกๆบนตุ่มเล็กๆตามกิ่ง มีกระจุกละ ๔-๑๐ ดอก บานเต็มที่กว้าง ๒-๓ ซม. กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ ซม. แก่จัดออกสีเหลือง หรือสีส้ม |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเทาแกมน้ำตาล หรือสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็งปานกลาง เลื่อย ผ่า และตบแต่งง่าย ทนทานพอประมาณ |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๘ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๕๙๘ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๐๗๖ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๒๖,๕๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๓.๑๑ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๕-๗.๒ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๙ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น ฝา และเพดาน เครื่องเรือน ตู้ โต๊ะ และลังใส่ของ ฯลฯ
ผล แก่ใช้รับประทานเป็นผัก และใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด
|
|
|