[1776] เทพทาโร ( Cinnamomum parthenoxylon) LAURACEAE = C. porrectum Kosterm.
จวง จวงหอม (ใต้) จะไค้ต้น (ภาคเหนือ) ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มือแดกะมางิง (ปัตตานี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ห่างๆกัน ในป่าดงดิบบนเขาทั่วประเทศ แต่มีมากทางจังหวัดภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๓๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง และมักมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียว หรือสีน้ำตาลคล้ำ ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น ถากดมดูจะมีกลิ่นหอม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่ รูปรีแกมรูปไข่ หรือบางทีรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ออกเรียงสลับกัน เนื้อค่อนข้างหนา ท้องใบเป็นคราบขาว ผิวเกลี้ยง ปลายแหลม โคนแหลมหรือกลม ยาวประมาณ ๗-๒๐ ซม. ก้านใบเรียวเล็กยาวประมาณ ๒.๕-๓.๕ ซม. ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อเป็นกระจุก ตามปลายๆกิ่ง ก้านช่อเรียวยาว และเล็กมาก ผลกลม เล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๗ มม. สีเขียว ก้านผลเรียว ยาวประมาณ ๓-๕ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเทาแกมน้ำตาล มีกลิ่นหอมฉุน มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อเป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือสับสน เป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งพอประมาณ เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๕ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๓-๑๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๖.๓ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ทำตู้ และหีบใส่เสื้อผ้าที่กันมอด และแมลงอื่นๆได้ เครื่องเรือนและไม้บุผนังที่สวยงาม แจว พาย กรรเชียง กระเบื้องไม้ และใช้เป็นยาสมุนไพรด้วย
เปลือก เป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
|