[1452] ฝาง ( Caesalpinia sappan) CAESALPINIACEAE ฝาง(ทั่วไป); ง้าย(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ฝางส้ม(กาญจนบุรี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามเขาหินปูนที่แห้งแล้ง และป่าดงดิบแล้งทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นเล็ก สูงประมาณ ๘-๑๐ เมตร ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง โค้งทั่วไป ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ช่อใบยาว ๑๕-๔๕ ซม. มีช่อแขนงแตกออกตรงข้ามกันทางด้านข้าง ๘-๑๖ คู่ แต่ละแขนงมีใบย่อยออกตรงข้ามกัน ๗-๑๘ คู่ ใบย่อยเล็กเป็นฝอยคล้ายใบหางนกยูงไทย รูปขอบขนานกว้าง ๖-๑๐ มม. ยาว ๑๐-๒๐ มม. ปลายมน เว้าตรงกลางเล็กน้อย โคนเบี้ยว ขนาดไม่เท่ากัน ดอกออกเป็นช่อ ไม่แตกแขนง ออกใกล้ๆกัน จามปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง มี ๕ กลีบ ผลเป็นฝักแข็ง แบน สีน้ำตาลแก่ เป็นจุดๆ ลักษณะคล้ายฝักถั่วแปบ กว้าง ๑.๕-๒.๕ ซม. ยาว ๖-๑๒ ซม. แต่ละฝักมี ๒-๔ เมล็ด รูปรีๆ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองส้ม ถูกอากาศนานๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง แข็ง เนื้อละเอียดปานกลาง ตบแต่ง ชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๑๖ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเครื่องเรือนชั้นดี ประโยชน์ของไม้ในตลาดส่วนใหญ่อยู่ที่สี ซึ่งให้สีแดง ใช้ยอมผ้าไหม ขนสัตว์ต่างๆ ใช้เป็นสีใส่อาหาร เครื่องดื่ม ทำยา และมีรสขื่นขม รับประทานเป็นยาบำรุงโบหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ทำให้โบหิตเย็น แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตออกทาทวารหนักและเบา การทำน้ำยาอุทัย ใช้น้ำต้มแก่นฝางเป็นหัวหน้า เพราะให้สีแดงงาม กับแก้ร้อนในกระหายน้ำ และใช้เป็นยารักษาโรคทั่วไป เช่น โรคเกิดจากเสมหะ และโรคที่มีอาการเลือดไหลออกมา และเป็นยาขับระดูอย่างแรง นอกจากนี้ยังให้น้ำฝาดชนิด Parogallol และ Catechol
ราก ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า และผ้าไหม
|