[136] กระพี้ ( Dalbergia cultrata) Leguminosae กระพี้เขาควาย กำพี้(เพชรบูรณ์) เก็ดเขาควาย เก็ดดำ(ภาคเหนือ) เวียด จักจัน(ฉาน-เชียงใหม่) กระพี้(ภาคกลาง) อีเม็งใบมน(อุดรธานี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณโปร่ง-ทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร เว้นแต่ทางภาคใต้ ทางภาคเหนือมีขึ้นปะปนอยู่กับไม้สักบ้าง ในป่าแดงก็มีขึ้นแต่มักจะมีขนาดเล็ก และแกร็น |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕ เมตรขึ้นไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดตื้นๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน ใบเป็นช่อแบบขนนก ยาว ๑๐-๑๕ ซม. มีใบย่อย ๗-๑๑ ใบ ลักษณะเหนียวคล้ายแผ่นหนังบางๆ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๑.๕-๒.๐ ซม. ยาว ๒.๕-๔.๕ ซม. ส่วนกว้างที่สุดอยู่ค่อนไปทางปลายใบ ซึ่งมนโค้งและหยักเว้าเห็นได้ชัด โคนสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมน กลมเล็กน้อย ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกบนช่อเชิงประกอบสั้นๆตามง่ามใบใกล้ยอด ดูคล้ายเป็นกระจุก ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน ปลายและโคนมน กว้างประมาณ ๒ ซม. ยาว ๕-๑๐ ซม. ลักษณะโค้งงอเล็กน้อย มีฝักละ ๑ เมล็ด สีน้ำตาล บางครั้งก้ฝักละ ๓ เมล็ด |
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีม่วงแก่ มีเส้นสีจาง และสีน้ำตาลสลับ เนื้อละเอียดถี่ เสี้ยนตรง แข็งมาก เหนียว ทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยาก แต่ขัดมันได้ดี เป็นไม้เนื้องาม |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๔๗ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ๑,๕๒๐ ประมาณ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๗๘๙ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๔๕,๔๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๕.๓๐ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๓.๐-๙.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๖.๘ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน และเครื่องประดับบ้านชั้นสูง เครื่องกลึง แกะสลัก ทำด้ามเครื่องมือ ด้ามหอก ด้ามมีด คันซอ ไม้ถือ พานท้ายปืน เสา ไม้บุผนังที่สวยงาม ฐานรองเพลาใบพัดเรือ ส่วนประกอบของเกวียน ทำกระสวย กลอง โทน รำมะนา จะเข้ ขลุ่ย รางและลูกระนาด กรับ ขาฆ้องวง ตัวแคน ลักษณะคล้ายไม้ขะเจ๊าะ หรือสาธร ควรใช้แทนกันได้ |