[1321] มะปริง ( Bouea oppositifolia) ANACARDIACEAE var. microphylla Merr. มะปริง(ชุมพร)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ห่างๆกัน ตามป่าดงดิบทั่วไป มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๗๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ ๘-๒๐ เมตร โตวัดรอบประมาณ ๑๐๐-๑๘๐ ซม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกว้างๆ บางทีเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบ สีเทาปนดำ มีน้ำยางสีเหลืองซึม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่สลับทิศทางกัน ใบอ่อนสีม่วง ห้อยย้อยลง รูปขอบขนาน หรือ รูปหอก ขนาด ๒-๖ x ๑๐-๒๐ ซม. โคนมน หรือสอบเข้าเล็กน้อย ปลายเรียว เป็นติ่งทู่ๆ เนื้อหนา เกลี้ยงเป็นมัน ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นบ้าง ใบแก่มักมีคราบขาวๆ ดอกสีเหลืองอ่อน หรือขาวปนเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง มีทั้งดอกแยกเพศและดอกสมบูรณ์ ดอกเพศผู้มีมากและเล็กกว่าดอกสมบูรณ์ ผลกลมรีๆ ผิวบาง เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยว หรือหวาน เมล็ดแข็ง มีเสี้ยนมาก เนื้อในเมล็ดสีม่วง |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลอ่อนแกมแดง มีริ้วสีอ่อนกว่าสีพื้น ขนานกันตลอดแนว ตามยาวของไม้ เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด และสม่ำเสมอ ทนทานพอประมาณ เหนียว เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๑๒ |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๕.๓๑
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๗๗
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๒
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๘๔ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๘๖ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๒๓,๔๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๒.๓๗ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๓๒๔.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการต่อเรือ ทำเสาเรือน กระดานพื้น เครื่องใช้ต่างๆ ไม้ถือ ทำซออู้ ซอด้วง
ผล คล้ายมะปราง ทั้งดิบและสุก รับประทานเป็นอาหารได้
|