[1102] ตะเคียนชันตาแมว ( Balanocarpus heimii) DIPTEROCARPACEAE ตะเคียนชันตาแมว, ตะเคียนชัน(ใต้); จีงามาส(มลายู-ใต้)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นกลุ่มๆในป่าดงดิบทางจังหวัดยะลา และ นราธิวาส |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๓๐-๔๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ล่อนเป็นสะเก็ด ตกชันสีขาวๆ เปลือกในสีเหลือง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปหอกหรือรูปดาบ ขนาด ๒-๔ x ๘-๑๕ ซม. เนื้อหนา เกลี้ยง ปลายสอบเรียวแหลม โคนมนหรือเบี้ยว ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ผลรูปขอบขนาน ปลายโค้ง เกลี้ยง แข็ง ขนาด ๑.๕ x ๕-๗ ซม. ไม่มีปีปก มีกลีบรองกลีบดอกเป็นกระทง ๕ พู หุ้มแนบอยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ ของผล |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลแกมเหลือง ถึงสีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรงหรืออาจสนบ้างเล็กน้อย เนื้อหยาบพอประมาณ แข็ง แข็งแรง ทนทานดีมาก เลื่อย ไสกบ ตบแต่งไม่ยาก ขัดชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๑๕ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ไม่ต่ำกว่า ๙ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา รอด ตง ขื่อ ใช้ต่อเรือ ทำหมอนรองรางรถไฟ เครื่องแต่งบ้าน เสา เขื่อน ทำเรือใบ เรือสำเภาเดินทะเล เสากระโดงเรือ |