การงานจะสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่ใช่เพราะคนอื่นแต่เพราะตัวของเราเองเท่านั้น
 
     
 
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
สำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีชุมชนอาศัยไม่หนาแน่นและมีปัญหาการกัดเซาะที่ไม่รุนแรง การแก้ไขปัญหาโดยวิธีนี้ สามารถทำได้โดยการนำตะกอนทรายจากแหล่งอื่นมาเติมชายหาดที่หายไป เพื่อเสริมส่วนที่ถูกกัดเซาะไปให้มีสภาพเหมือนเดิม
 

การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย เป็นปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนและของทางราชการ ทำให้เสียทัศนียภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพยากรชายฝั่งอีกด้วย โดยอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยและด้านอันดามันเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี


แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

1. การแก้ไขปัญหาโดยการใช้ธรรมชาติ ได้แก่ การฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ปะการัง และหญ้าทะเล ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์

2. การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะแบบไม่ใช้โครงสร้าง วิธีการนี้ เหมาะสมสำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีชุมชนอาศัยไม่หนาแน่นและมีปัญหาการกัดเซาะที่ไม่รุนแรง การแก้ไขปัญหาโดยวิธีนี้ สามารถทำได้โดยการนำตะกอนทรายจากแหล่งอื่นมาเติมชายหาดที่หายไป เพื่อเสริมส่วนที่ถูกกัดเซาะไปให้มีสภาพเหมือนเดิม (Beach Nourishment) แล้วทำการปลูกหญ้าทะเลหรือต้นไม้ชนิดที่มีรากยาวมาช่วยยึดเกาะพื้นดินให้แน่น หรือใช้วิธีการเติมทรายและทำการบดอัด ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เป็นหาดทรายเพื่อการท่องเที่ยว แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประเภท นี้มีข้อดี คือ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อย แต่ข้อเสีย คือต้องมีการบำรุงรักษาและเติมทรายอยู่เสมอ

3. การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม  วิธีการนี้เป็นการแก้ไขโดยการสลายพลังงานของคลื่นที่เหมาะสม หรือเพื่อช่วยดักตะกอนทรายชายฝั่งและช่วยยืดแนวชายฝั่ง แนวทางการแก้ไขปัญหานี้เหมาะสำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีปัญหาถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง วิธีการนี้แบ่งเป็นการออกแบบโครงสร้างแข็ง (Hard Solution) ได้แก่ กำแพงกันคลื่น (Sea wall) เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore break water) เขื่อนหินทิ้ง (Revetment) กำแพงปากแม่น้ำ (Jetty) หรือ เขื่อนดักตะกอน (Groin) และการออกแบบใช้โครงสร้างอ่อน (Soft Solution) ได้แก่ เขื่อนไม้ไผ่กันคลื่น เข็มคอนกรีตสลายพลังคลื่น ไส้กรอกทราย

 


4. นอกจากนี้ การใช้มาตรการการควบคุมทางกฎหมายและการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งให้เหมาะสม ต้องใช้การบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของทุก ๆ ฝ่าย ถือเป็นแนวทางอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน

 




Last updated: 2011-08-27 08:08:47


@ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
3,056

Your IP-Address: 18.97.14.86/ Users: 
3,055