กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
ทำงานใหญ่ต้องรู้จักไว้ใจคนเราเปลี่ยนเมื่อวานไม่ได้ แต่เราทำให้พรุ่งนี้ดีขึ้นได้
 
     
 
สวนป่า CDM
การรักษาเสถียรภาพด้านความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ภูมิอากาศโลก ทำให้ระบบภูมิอากาศโลกสามารถปรับตัวได้เองตามธรรมชาติ และเพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อกระบวนการผลิตอาหาร
 

หากผู้ใดที่อยู่ในวงการปลูกป่าไม่รู้จักสวนป่า CDM ก็นับว่ากำลังตกยุกแล้ว แต่ถ้าเริ่มสนใจเกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิตบ้างก็นับว่าพอจะอ่านบทความต่อไปนี้ได้

การปลูกป่าตามกลไก CDM หรือ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) เป็นกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC)

โดยสมาชิกได้ลงนามรับรองตามกรอบอนุสัญญาฯ นี้ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535 (1992) ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นำเนื้อหาไปใช้ในการประชุมสิ่งแวดล้อมโลก (Earth Summit) ว่าด้วยแผนปฏิบัติการที่ 21 (Agenda 21) ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร  ประเทศบราซิล เมื่อปี 2535 (1992)

 

วัตถุประสงค์ของกรอบอนุสัญญาฯ ก็คือ การรักษาเสถียรภาพ (stabilization) ด้านความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ภูมิอากาศโลก ทำให้ระบบภูมิอากาศโลกสามารถปรับตัวได้เองตามธรรมชาติ และเพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อกระบวนการผลิตอาหาร และส่งเสริมให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจของโลกดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน

โดยสาระสำคัญของกรอบอนุสัญญาฯ นั้น มุ่งสร้างความตระหนักแก่มนุษยชาติถึงความสำคัญของการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน โดยสาเหตุของการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้นนั้น เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกและส่งผลต่อระบบธรรมชาติและมวลมนุษย์


นอกจากนี้ยังสร้างความตระหนักว่า การเพิ่มขึ้นของกาซนั้นส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นส่วนใหญ่ และนอกจากนี้ ประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งพบว่ายังมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวน้อยอยู่นั้น แต่ถ้าหากปล่อยให้มีการพัฒนาอย่างไร้ขอบเขตมากขึ้นต่อไป ก็ย่อมส่งผลต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งอยู่ใน List ของ Annex 1 นั้น จะสามารถทำการซื้อขายเครดิตในการปลดปล่อยกาซเรือนกระจก(Emission Trading, ET) หรือโดยช่วยเหลือกันเองในรูปของ Joint Implementation (JI) ก็ได้ หรือหากจะซื้อขายคาร์บอนกับประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีชื่ออยู่ใน Non-Annex 1 ก็ได้ ซึ่งการซื้อขายคาร์บอนนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า กลไกการพัฒนาสอาด Clean Development Mechanism, (CDM)

สำหรับโครงการที่คิดเครดิตได้นั้น จะต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 (2000) ถึงปี 2555 (2012) ตามมาตรา 3 ของพิธีสารฯ เท่านั้น 

นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้ (Land-use, Land-use Change and Forest, LULUCF) ตามข้อกำหนดของพิธีสารเกียวโต ซึ่งสามารถนำมาคิดเครดิตได้ทั้งสองแบบ ได้แก่ การปลูกป่าใหม่แทนที่ถูกทำลายไปก่อนปี 2533 (1990) เรียกว่า Reforestation การปลูกป่าในพื้นที่ที่ไม่เคยมีป่ามาก่อนช่วง 50 ปี เรียกว่า Afforestation)

ลักษณะของโครงการปลูกป่า CDM นั้นจะมีข้อกำหนดว่า การดูดซับก๊าซ CO2 ได้ไม่เกิน 8,000 ตัน CO2 ต่อปี ขนาดของพื้นที่ป่าแต่ละโครงการสามารถปลูกเป็นแปลงๆ และนำปริมาณการดูดซับ CO2 มารวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 8,000 ตัน CO2 ต่อปี 

แต่ละแปลงที่เป็นพื้นที่ปลูกป่าจะต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 1 กิโลเมตร การพิจารณาโครงการ CDM ดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของประเทศ (Designated National Authority, DNA) โดยที่โครงการ CDM จะต้องมีลักษณะที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

มีระยะเวลาการคิดเครดิตหรือสิ้นสุดพันธกรณีสมัยแรก 2551-2555

 

สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการ CDM นั้น จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • จะต้องเป็นโครงการที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมิได้มีกฎหมายบังคับให้ดำเนินกิจการนั้น ๆ แต่อย่างใด
  • เป็นโครงการที่มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น ( กำหนดหลักการโดยพิธีสารเกียวโต )
  • เป็นโครงการที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
  • เป็นโครงการที่จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือ Initial Environmental Examination (IEE)
  • การปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ทั้งทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  • ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการปลูกป่า โดยพิจารณาจากชุมชนที่มีรายได้น้อยเป็นหลัก

การปลูกป่าเพื่อคิดเครดิตคาร์บอนเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมอย่างยิ่ง คนปลูกได้ประโยชน์สูงสุด แถมได้โบนัสเป็นเครดิตคาร์บอน ประชาชนได้อากาศที่บริสุทธิ์ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี สัตว์ แมลงมีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย สรุปแล้วการปลูกป่าจึงเป็น win-win approaches ที่ให้ประโยชน์สูงสุดกันทั่วหน้า


Last updated: 2011-04-29 13:04:03


@ สวนป่า CDM
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ สวนป่า CDM
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
3,578

Your IP-Address: 3.21.231.245/ Users: 
2,138